2551-09-05

Exercise 1

ในมุมมองของธุรกิจนั้น การสร้างระบบสารสนเทศควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง จงอธิบาย

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ เป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการ และการปฏิบัติการของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่ม หรือ ระดับองค์การ ไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีก รวม 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่ง ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน


1. ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 3 หน่วย คือ

1. หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
3. หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์

การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ จะพบว่าคล้ายกัน กล่าวคือ เมื่อมนุษย์ได้รับข้อมูลจากประสาทสัมผัส ก็จะส่งให้สมองในการคิด แล้วสั่งให้มีการโต้ตอบ



2. ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ

ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล


3. ข้อมูล

ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ



4.บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน


5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน


อินเตอร์เนตและอินเตอร์เน็ตเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อองค์การอย่างไรจงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม

อินเตอร์เนตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการนำคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน มีชื่อเรียกสมัยนั้นว่า อาร์ปาเนต เครือข่ายอาร์ปาเนตเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะมีองค์กรทั้งทางทหาร และมหาวิทยาลัยนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ ในปี พ.ศ.2527 มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายถึง 1,000 เครื่อง การขยายตัวของเครือข่ายนั้นได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีองค์กรเอกชน และบริษัทนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อด้วย ในปี พ.ศ.2532 มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายมากกว่า 10,000 เครื่องทั่วโลกและถูกเรียกว่า อินเตอร์เนต

อินเตอร์เน็ตนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของวงการคอมพิวเตอร์ครั้งสำคัญที่สุด นับตั้งแต่การเปิดตัวเครื่องพีซี การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จำนวนมากเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายอินเตอร์เนต ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการสื่อสารกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตได้โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้าน เชื้อชาติ ศาสนา อินเตอร์เนตจึงได้กลายเป็นสังคมขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในโลกคอมพิวเตอร์ โดยถูกขนานนามว่า "ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace)"

เวปเป็นสิ่งที่ทำให้อินเตอร์เนตได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะสามารถเชื่อมคนจำนวนมากเข้าด้วยกันได้ เพื่อเผยแพร่และค้นหาข้อมูล โดยเสียค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต่างรุ่นต่างแบบกันก็ตาม

ในอดีตบริษัทหลายแห่งต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการลงทุนกับเทคโนโลยี ที่สนับสนุนการเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้บางครั้งก็ไม่น่าพอใจ ด้วยเหตุผลนี้องค์กรและธุรกิจจำนวนมาก จึงได้นำเทคโนโลยีอินเตอร์เนตเข้ามาใช้ เพื่อเป็นคำตอบสำหรับการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร รูปแบบการสื่อสารที่จำกัดวงภายในองค์กรนี้มีชื่อเรียกว่า อินทราเนต (Intranet) เครือข่ายอินทราเนตถึงแม้จะมีขอบเขตการสื่อสารที่จำกัดลงมา แต่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับอินเตอร์เนต คือซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนต เช่น บราวเซอร์


ประโยชน์ของอินเตอร์เนต
อินเตอร์เนตเป็นสื่อที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ หมายความว่าผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลที่ต้องการจากอินเตอร์เนตได้ในระยะเวลาอันสั้น ผู้ใช้อินเตอร์เนตสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ข้ามโลกเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถทำให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยกับผู้อื่น ชมวิดีโอ และฟังการกระจายเสียงได้บนอินเตอร์เนต
อินเตอร์เนตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลตั้งแต่คอมพิวเตอร์ ดาราภาพยนตร์ ไปจนถึงรายงานข่าวล่าสุด อินเตอร์เนตได้เปิดโอกาสสำหรับทำธุรกิจโฆษณา และประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 บริษัทที่ประชาสัมพันธ์ตัวเองบนอินเตอร์เนต และให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง การค้าขายบนอินเตอร์เนต หรือ Electronic Commerce ก็เป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจมีธุรกิจจำนวนมากที่ได้หันมาเปิดร้านค้าบนอินเตอร์เน็ต และนับวันจะมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ


ท่านคิดว่าการเรียนแบบ virtual classroom หรือ e-learning มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง
virtual classroom (ห้องเรียนเสมือน) คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบของ software โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ โดยสามารถเลือกเวลาและสถานที่ที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดห้องเรียนเสมือนคือ ระบบปฏิบัติการของห้องเรียนเสมือน ที่ต่างไปจากการเรียนในห้องเรียนรวมถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนว่าเป็นได้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ หรือไม่นอกจากนั้นสิ่งที่การเรียนในห้องเรียนเสมือนมีคือ การปฏิสัมพันธ์หรือสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เป็นสิ่งที่ต้องคิดว่าห้องเรียนเสมือนจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร


ข้อดี
1. ทำเลเป้าหมาย ผู้เรียนอาจจะเลือกเรียนรายวิชาใดๆจากผู้สอนคนใดคนหนึ่งทั่วโลกหากมีการเปิดโอกาสให้ลงทะเบียนเรียนได้โดยไม่มีขีดจำกัดในเรื่องพื้นที่

2. เวลาที่ยืดหยุ่น ผู้เรียนอาจจะมีส่วนร่วมได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน การได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้สอนและเพื่อนที่เรียนร่วมกันจะไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา
3. ไม่มีการเดินทาง ผู้เรียนสมารถทำงานและศึกษาอยู่กับบ้านได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งอาจจะเป็น ข้อดีสำหรับผู้เรียนที่มีอุปสรรค อันเนื่องมาจากความพิการทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางหรือแม้แต่ผู้เรียนที่มีภาวะด้านครอบครัว ปัจจัยประการนี้นับเป็นโอกาสที่ทำให้ทุกคนมีทางเลือกและความสะดวกสบาย
4. ประหยัดเวลา ผู้เรียนที่จำเป็นต้องเดินทางไปสถานศึกษาถ้าเรียนจากห้องเรียนเสมือนจะประหยัดการเดินทาง


ข้อเสีย
1. แหล่งเรียนมีจำกัด ในปัจจุบันยังมีสถาบันที่เสนอรายวิชาแบบห้องเรียนเสมือนจำกัดมาก ทำให้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับแหล่งที่จะเรียนในปัจจุบัน


2. เครื่องมือที่จำเป็น ผู้เรียนจะต้องมีเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และโมเด็มที่บ้าน หรือที่ทำงานพร้อมที่จะติดต่อเชื่อมเข้ากับโปรแกรมห้องเรียนเสมือน ดังนั้น การเรียนในระบบห้องเรียนเสมือน จึงดูคล้ายกับผู้เรียนจะต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควร หรือไม่ก็จะต้องทำงานในองค์กรที่มีอุปกรณ์เหล่านี้ และพร้อมจะสนับสนุนให้เข้าเรียนได้

3. การให้ข้อมูลย้อนกลับล่าช้า การสื่อสารในชั้นเรียนปกติ จะเป็นการสื่อสารแบประจัญหน้า การถามคำถามจะได้รับคำตอบทันทีทันใด แต่ในสื่อที่มีการเรียนแบบภาวะต่างเวลาอาจจะต้องรอข้อมูลย้อนกลับ อาจจะเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งผู้สอนอาจจะทำให้ข้อมูลย้อนกลับแบบเป็นกลุ่มแบบรวมๆ มิได้เฉพาะเจาะจง ให้กับผู้เรียนคนใดคนหนึ่ง อย่างไรก็ตามการให้ข้อมูลย้อนกลับทันที่ทันใดสำหรับห้องเรียนเสมือน สามารถกระทำได้ ถ้าผู้ที่ร่วมเรียนทุกคนติดต่อกันแบบอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมๆกัน การพูดคุย การให้ข้อมูลย้อนกลับกันและกันจะต้องมีการเตรียมข้อความสำเร็จรูป จะทำให้การติดต่อระหว่างกันและกันภายในกลุ่มรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่โดยส่วนมากและการเรียนแบห้องเรียนเสมือนมักจะนิยมใช้แบบภาวะต่างเวลา จึงทำให้คำตอบที่ได้รับล่าช้าออกไป

4. ทักษะเอกสาร ผู้เรียนที่จะเรียนในระบบห้องเรียนเสมือน จะต้องมีทักษะในการอ่านและการเขียนเป็นอย่างดี เพราะผู้เรียนต้องใช้ทักษะในการใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การใช้ซอฟแวร์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาข้อข้องจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้

e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology)และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ(Interactive Technology) คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

ข้อดี
1. ได้บรรยากาศสด
2. ใช้กับกรณีผู้สอนมีผู้ต้องการเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก และสามารถประเมินจำนวนผู้เรียนได้ง่าย
3. เหมาะกับการประชุมที่ต้องมีการโต้ตอบ
4. แบนด์วิธต่ำเพราะเป็นการส่งแบบ Multicast

ข้อเสีย
1. กำหนดเวลาในการเรียนเองไม่ได้ ต้องเรียนตามเวลาที่กำหนดกับคนกลุ่มใหญ่

2. หากถ่ายทอดในเวลาที่ไม่เหมาะสม ไม่มีผู้ใดว่างมาเรียน ก็ทำให้เสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์
3. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเป็นไปได้โดยยาก หากเป็นการเรียนระยะไกล กว่าข้อมูลที่เป็นคำถามจะไปถึงผู้สอน อาจจะหมดเวลาสอนแล้วก็ได้

สถาบันการศึกษาได้ประโยชน์อะไรจากการใช้ระบบ e-learning


e-learning สามารถใช้ได้กับทั้งสถานศึกษาและองค์กรธุรกิจ การเริ่มต้นกับสถานศึกษาอาจจะยากกว่า เนื่องจากความพร้อมและงบประมาณ แต่ก็เป็นสถานที่สำคัญที่สุดที่ควรจะเริ่มต้น

e-learning ที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรมแล้วในสถานศึกษา เริ่มจากที่มหาวิทยาลัย อาจารย์ให้นักศึกษารับการบ้าน ส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนานำเนื้อหาไว้ที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้ามาเรียนจากบ้านได้ ด้วยวิธีนี้ทำให้สามารถเผยแพร่บทเรียนไปได้ทั่วโลก ในต่างประเทศมีการจัดสอนบางคอร์สผ่านทางอินเทอร์เน็ต นักศึกษาจากประเทศต่างๆ ลงทะเบียนเรียนได้ทันทีจากบ้าน

ท่านต้องการที่จะเรียนในระบบ e- learning หรือไม่ เพราะเหตุใด


ไม่ต้องการ เนื่องจากบรรยากาศในการเรียนทำให้เราไม่ค่อยสนใจในเนื่องหา เพราะบรรยากาศจากที่บ้านมีความเป็นส่วนตัว ส่งผลให้ไม่มีความตั้งใจในการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังทำให้เราไม่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีหลับผู้อื่น ไม่รู้จัก